วัดช้างรอง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน มีโครงการอุปสมบทพระภิกษุสามเณรเป็นประจำทุกปีขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมโครงการอุปสมบทพระภิกษุสามเณรหรือร่วมเป็นเจ้าภาพบรรพชาอุปสมบท พระภิกษุสามเณร

 

ประวัติ"วัดช้างรอง" ตำนานช้างอาบน้ำสมัยพระนางจามเทวี

          เมื่อช้างของพระนางจามเทวีชื่อว่า "ผู้ก่ำงาเขียว" ควาญช้างได้นำมาอาบน้ำที่แม่น้ำกวงตรงบริเวณประตูท่านาง แล้วควาญช้างก็นำช้างมาอาบน้ำสะอาดที่บ่อน้ำบริเวณที่สร้างวัดในปัจจุบัน และช้างก็ได้แผดเสียงร้องขึ้น ต่อมาพวกราชตระกูลที่เป็นเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครลำพูน ร่วมกับประชาชนจึงได้สร้างวัดขึ้นตั้งชื่อว่า "วัดช้างร้อง " วัดช้างรอง ตั้งอยู่เลขที่ 373 บ้านท่านาง ถนนรอบเมืองใน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 1งาน 78ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 35วา 2ศอก 10นิ้ว จดหมู่บ้านทิศใต้ประมาณ 35วา2ศอก 10นิ้ว จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ 27วา3ศอก1นิ้ว จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ 27วา3ศอก1นิ้ว จดถนนสาธารณะ ทิศเหนือของวัดตั้งติดกับหมู่บ้านท่านาง ด้านหน้าวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกติดกับแม่น้ำกวง แม่น้ำสายหลักของเมืองลำพูน เมื่อเข้าไปยังภายในบริเวณวัดจะพบ อาคารเสนาสะที่สำคัญได้แก่ พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2442 ผูกพันธสีมาเมื่อ พ.ศ.2460 ส่วนที่เห็นในหลังปัจจุบันได้สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2528 หอไตร หรือ หอธรรม สร้างเมื่อ พ.ศ.2438 พระธาตุเจดีย์ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2442 กุฏิสงฆ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2476 และศาลาการเปรียญ อุดมรัฐราษฎร์ประสิทธิ์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2499 เป็นต้น เมื่อวัดเสร็จแล้ว ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า วัดช้างร้อง เมื่อกาลเวลาเนิ่นนานไป ชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากวัดช้างร้องกลายเป็น"วัดช้างรอง" ซึ่งอาจหมายถึงช้างทรงหรือช้างพระที่นั่งของพระนางจามเทวีที่มาแผดเสียงร้องเวลาควาญช้างนำมาอาบน้ำก็ได้ วัดช้างร้อง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2460 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 6.74เมตร ยาว 14.60เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่1 พระครูบาจันทร์ต๊ะ คนฺธสีโล พศ 2453-2488 รูปที่ 2 พระเสาร์ พ.ศ.2489-2490 รูปที่ 3 พระอุดมธรรมมุณี พ.ศ.2490-2499 รูปที่ 4 พระมหาศรียนต์ อินฺทปญฺโญ พ.ศ. 2500-2501 รูปที่ 5 พระมหาวิเชียร วชิรญาโณ พ.ศ. 2502-2503 รูปที่ 6 พระมหาอินทร ธมฺมวฑฺฒโน พ.ศ. 2504-2505 รูปที่ 7 พระมหาทองคำ สุวณฺณโชโต พ.ศ. 2506-2508 รูปที่ 8 พระจำรัส โสภโณ พ.ศ. 209-2511 รูปที่ 9 พระมหาประยนต์ ธีรปญฺโญ พศ 2512-2520 รูปที่10 พระจำรัส โชติธมฺโม พ.ศ. 2521-2525 รูปที่ 11 พระอธิการบุญมา สิกฺขาสโภ ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดไว้ให้บริการแก่ ภิกษุ – สาเณร และบุคคลทั่วไป วัดช้างรอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดช้างร้อง หรือ วัดช้างรอง นับได้ว่าเป็นวัดสำคัญเก่าแก่ควบคู่กับการสร้างเมืองลำพูน เมื่อมีโอกาสลองแวะเข้าไปเที่ยวชมโบราณสถานของวัดช้างรอง นอกจากจะไปเห็นความสวยงามของศิลปกรรมแล้วยังสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมืองลำพูนได้จากวัดแห่งนี้ด้วย


Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จัดทำโดย นักศึกษาสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ รหัส 53 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง